ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1)

สาระสำคัญข้อกำหนด

ออกตามความในมาตรา 9  แห่งพระราชกำหนด

การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

(ฉบับที่ 1)

ข้อ 1 การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติตต่อเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มีนาคม 2563 หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติตต่อได้ประกาศ
ข้อ 2 การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค ที่ซึ่งมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 เป็นการชั่วคราว แต่อย่างน้อยให้สั่งปิดสถานที่ดังต่อไปนี้
(1) สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
(2) ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย (ฟิตเนส) สถานบันเทิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
(3) สถานที่อื่นนอกจากนี้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์สถาน ห้องสมุดสาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสังปิดฉพาะส่วน หรือทั้งหมดและอาจกำหนดเงื่อนไขและเวลาตามความจำเป็นและเหมาะสมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี
ในกรณียังไม่ใด้มีคำสั่งให้ปิดสถานที่ใด ให้เจ้าของ หรือผู้ดูแลสถานที่นั้น จัดให้มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่หางราชการกำหนด
ข้อ 3 การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นอากาศยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด หรือในการใช้เส้นทางคมนาคม ไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางบก เพื่อเดินทางเข้ามาในราขอาณาจักร นอกจากบุคลที่ได้รับการยกเว้น
(1) เป็นกรณีหรือผู้มีเหตุยกเว้นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด หรืออนุญาตตามความจำเป็น
(2) เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว
(3) เป็นผู้ควบคุมยานหาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ
(4) เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทย ตลอดจนบุคคลในครอครัวของบุคคลดังกล่าว
(5) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ทำงานในราชอาณาจักร
(6) เป็นผู้มีสัญชาติไทย ในกรณีเช่นนี้ให้ติดต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ทำนักเพื่อออกหนังสือรับรอง หรือมีใบรับรองแพทย์
บุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันตาม (4) (5) หรือ (6) ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ยื่นยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly Health Certificate) ซึ่งได้รับการตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง และเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
     ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสามารถห้ามผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ตรวจพบ หรือต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ยินยอมให้ตรวจ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้
ข้อ 4 การห้ามกักตุนสินค้า ซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 หรือไม่ก็ตาม
ข้อ 5 การห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ในสถานที่ต่าง ๆ
ข้อ 6 การเสนอข่าว ห้ามเผยแพร่ หรือนำเสนอข่าวสารที่มีข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อ ไวรัสโครน่า (COVID -19 ) ที่ไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประขาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ข้อ 7 มาตรการเตรียมรับสถานการณ์
(1) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ หากมีปัญหาให้รายงานกระทรวงมหาดไทย
(2) ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดและประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการเพื่อช่วยเหลือ หรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่และอำนาจ โดยพิจารณาใช้งบประมาณของตนเองเป็นอันดับแรก ในกรณีไม่อาจดำเนินการได้ให้เสนอหรือขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล
(3) ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยในการหายใจและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์จากแหล่งต่าง ๆ และการเตรียมสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มจำนวนขึ้น โดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอประชุม  ศาลาวัด  สถานที่เอกชนอื่น ๆ เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว
(4) ในการกักกันตัวเองไว้สังเกตอาการตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หรือ ถ้าเป็นผู้เดินทางข้ามเขตมาจากพื้นที่จังหวัดอื่นให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งขึ้น หรืออาสาสมัครที่ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการสามารถเข้าตรวจสอบการเฝ้าระวังความเข้มงวดจริงจังในการกักกันตนเองและให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง
ข้อ 8 มาตรการพึ่งปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท ให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ง่ายอยู่ในเคหสถานหรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่
(1) ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
(2) กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่   โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคในระบนทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้
(3) กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่าห้าปี
     ยกเว้นในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อการพบแพทย์ การรักษาพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ การปฏิบัติงานหรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับสถาบันการเงิน สื่อสารมวลชน ขนส่งสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค หรืออื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
ข้อ 9 มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้มงวดในการตรวจลงตรา หรือออกวีซ่า หรืออนุญาต ให้ชาวต่างประเทศซึ่งมิได้มีกิจการงานปกติหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรยังคงอยู่ในราขอาณาจักร
ข้อ 10 มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย
     ในกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัตเวรยามหรือตั้งจุดตรวจตามถนน เส้นทางคมนาคม สถานีขนส่งหรือโดยสาร เพื่อป้องกันอุบัติหตุ การก่ออาชญากรรม และการรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณที่เสียงต่อการแพร่เชื้อโรค
     ในจังหวัดอื่นให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยให้มีมาตรการตั้งด่านตรวจ หรือจุดสกัดดูแลการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดเพื่อจัดระเบียบการเดินทาง การจราจร การเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการผู้เดินทาง และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติตต่อโรค
ข้อ 11 มาตรการป้องกันโรค ให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อใช้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป หรือใช้ในกรณีผ่อนผัน หรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ ดังนี้
    1. ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
    2. ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
    3. ให้บุคคลตาม (2) ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
    4. ให้บุคคลตาม (2) เว้นระยะนั่งหรือยื่นห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรเพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรคทางฝ่อยละอองน้ำลาย
    5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็นโดยถือหลักการหลึกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
ข้อ 12 นโยบายการยังคงให้เปิดสถานที่ทำการ
       ได้แก่ โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารมิใช่สถานบันเทิง หรือสถานบริการ และแผงจำหน่ายอาหารซึ่งผู้บรึโภคซื้อไปบริโภคนอกสถานที่ โรงแรมในส่วนซึ่งเป็นที่พักอาศัยและ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ห้างสรรพสินค้าในส่วนซุปเปอร์มาเก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้ำเบ็ดเตล็ดอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิงปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงประกอบจการต่อไปได้ตามปกติเพื่อความสะดวกและความเป็นอยู่ตามปกติ โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราขการกำหนตในข้อ 11
      สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ยังคงเปิดดำเนินการในวันและเวลาราชการตามปกติ ยกเว้นที่มีประกาศให้ปิดหรืองดดำเนินการไปก่อนแล้ว เช่น สถาบันการศึกษา โดยให้มีแนวทางการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
      ทั้งนี้ ให้ภาคธุรกิจ ร้านที่เปิดบริการและสถานที่ราชการที่เปิดทำการ วางมาตรการคัดกรองผู้ปฏิบัติงาน และผู้มาติดต่อหรือใช้บริการ ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ 11
ข้อ 13 คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ในช่วงเวลานี้ให้ประชาชน งด หรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่จำเป็น และควรพักหรือทำงานอยู่ ณ ที่พำนักของตน กรณีจำเป็นด้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด
ข้อ 14 คำแนะนำในการจัดจกรรมอื่น ๆ การจัดกิจกรรมหรือพิธีการทางสังคมตามประเพณีนิยม ตลอดจนกิจกรรมหรืองานพิธีที่ทางราชการจัดขึ้น หรือเป็นไปตามหมายกำหนดการของทางราชการ ยังคงจัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ 11
ข้อ 15 โทษ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 1-6 ต้องรับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ 2548 และอาจมีความผิดตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 หรือมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ พ.ศ. 2542 แล้วแต่กรณี
ข้อ 16 การใช้บังคับ ข้อกำหนดนี้ใหใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตั้งแต่บัดนี้เป็นตันไป เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น
     ในกรณีมีความจำเป็น นายกรัฐมนตรีอาจออกข้อกำหนดเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดมาตรการ หรือเงื่อนไข หรือระยะเวลาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ทดสอบ4

yyyyyyyyyyyyyyyyyyyy

yyyyyyyyy

fwweAuthor Name

4wtw

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.